ซ่อมโครงสร้างโดยผู้ตรวจสอบอาคาร

บริการทดสอบกำลังรับน้ำหนัก (Load Test)

ผู้ตรวจสอบอาคาร พร้อมบริการทดสอบกำลังน้ำหนักก่อนซ่อมโครงสร้าง

บริการทดสอบกำลังรับน้ำหนัก (Load Test) ในที่นี้คือ การทดสอบเพื่อให้ทราบว่าโครงสร้างนั้น ๆ ความสามารถรับน้ำหนักบรรทุกจร (Live Load) ตามเทศบัญญัติของกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2522 ได้อย่างปลอดภัยหรือไม่ ตามมาตรฐาน ACI Code 318-89
ซึ่งการเลือกตำแหน่งที่ทำการทดสอบขั้นตอนและกระบวนการทดสอบ รวมทั้งการวิเคราะห์ผลการทดสอบ ควรอยู่ภายใต้การควบคุมดูแลจากวิศวกรที่มีประสบการณ์การทำงานด้านนี้โดยเฉพาะ...

ข้อกำหนดการทดสอบกำลังรับน้ำหนัก (Load Test)

  1. ในขณะทำการทดสอบต้องมีวิศวกรควบคุมดูแลการทดสอบ
  2. ส่วนของโครงสร้างที่ทำการทดสอบต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 56 วัน(นอกเสียจากว่า เจ้าของโครงการ และผู้มีส่วนในการรับผิดชอบโครงการทั้งหมด เห็นชอบและอนุมัติให้ทำการทดสอบ)
  3. ถ้าทำการทดสอบแบบสุ่มตัวอย่าง ส่วนของโครงสร้างที่ทำการทดสอบควรจะเป็นส่วนของโครงสร้างที่มีปัญหา หรือมีความแข็งแรงน้อยที่สุด
  4. น้ำหนักบรรทุกคงที่ (Dead load) ของโครงสร้างที่มีผลต่อการรับน้ำหนักของโครงสร้างที่จะทำการทดสอบต้องไม่เกิดการเปลี่ยนแปลง และอยู่คงที่ ก่อนการทดสอบเป็นระยะเวลา 48 ชั่วโมง

บริการตรวจสอบกำลังรับน้ำหนัก วิเคราะห์ก่อนซ่อมโครงสร้าง
กับผู้ตรวจสอบอาคารมากประสบการณ์จาก N.S.Plus Engineering ติดต่อเราได้ที่

  

เครื่องมือที่ใช้ในการทดสอบ

  1. Dial Gauge ขนาดก้านยาว 1 cm. วัดค่าความละเอียดได้ 0.01 mm.
  2. Magnetic Holder สำหรับยึดจับ Displacement Transducer และDial Gauge
  3. เทอร์โมมิเตอร์ ใช้วัดอุณหภูมิขณะทำการทดสอบ

การวางน้ำหนักบรรทุกสามารถใช้วัสดุต่างๆ ได้แก่ น้ำ, ปูนซีเมนต์,อิฐบล็อก, หิน-ทราย ฯลฯ แต่วัสดุที่นิยมใช้ได้แก่ น้ำ เพราะว่าสามารถทำการวางและปลดน้ำหนักได้สะดวก รวดเร็วกว่าวัสดุอื่นๆ และขณะทดสอบหากพบว่าการแอ่นตัวสูงเกินไป และเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถปลดน้ำหนักได้ทันที ก่อนที่จะเป็นอันตรายแก่โครงสร้าง

การวางน้ำหนักบรรทุกจะทำตามมาตรฐาน ACI 318-89 ซึ่งน้ำหนักบรรทุกสูงสุดสามารถหาได้จากสูตร

Total Load = 0.85*(1.4*Dead Load + 1.7*Live Load)

Total Load = น้ำหนักบรรทุกรวม

Dead Load = น้ำหนักบรรทุกคงที่ของโครงสร้าง

Live Load = น้ำหนักบรรทุกจร

แบ่งการวางน้ำหนักเป็น 4 ขั้นๆ ละเท่าๆ กัน โดยมีลำดับการวางน้ำหนักบรรทุก

ดังนี้ 0% - 25% - 50% - 75% - 100%** - 50% - 0**




การทดสอบและบันทึกค่าการแอ่นตัว

  1. บันทึกค่าการแอ่นตัว (Initial Deflection) และอุณหภูมิ (Temperature) ก่อนทำการทดสอบน้ำหนักบรรทุก
  2. ทำการเพิ่มน้ำหนักบรรทุก (Test load) เป็น 4 ขั้น โดยแต่ละขั้นจะเพิ่มน้ำหนักบรรทุกขั้นละ 25% ของน้ำหนักบรรทุกสูงสุด(Maximum test load) จะคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 1 ชั่วโมง ทำการบันทึกค่าการแอ่นตัว (Deflection) และอุณหภูมิ (Temperature)ในแต่ละขั้นที่คงน้ำหนักบรรทุกไว้ 1 ชม. ที่เวลา 0, 5, 15, 30 และ 60 นาที
  3. ที่น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (Maximum test load) ที่มีเครื่องหมาย ** จะคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 24 ชั่วโมง ทำการบันทึกค่าการแอ่นตัว(Deflection) และอุณหภูมิ (Temperature) ที่เวลา 0, 5, 15, 30 และ 60 นาที และต่อไปทุกๆ 1 ชม. จนครบ 24 ชม.
  4. ค่าการแอ่นตัวที่น้ำหนักบรรทุกสูงสุด (Maximum test load)และคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 24 ชั่วโมง จะเป็นค่า Initial deflectionหรือMaximumdeflection(ตามมาตรฐาน ACI318-89) หมายเหตุ ในขณะทำการทดสอบนั้น โครงสร้างต้องไม่มีความเสียหาย (Visible evidence of failure) เกิดขึ้น ความเสียหายของโครงสร้าง (Visible evidence of failure) ที่ว่าหมายถึง “ การแตกร้าว, การขยายตัว หรือมีขนาดการแอ่นตัว ของโครงสร้างที่มากเกินไปโดยสามารถสังเกตได้อย่างชัดเจน และอาจจะทำให้เกิดความเสียหายต่อความปลอดภัยของโครงสร้างที่ทดสอบและโครงสร้างอื่นๆ
  5. ทำการปลดน้ำหนักบรรทุก (Rebound test load) โดยจะปลดน้ำหนักบรรทุกออก 50% ของน้ำหนักบรรทุกสูงสุด    (Maximum test load) และจะคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 1 ชั่วโมง ทำการบันทึกค่าการแอ่นตัว    (Deflection)และอุณหภูมิ (Temperature) ในแต่ละขั้นที่คงน้ำหนักบรรทุกไว้ 1 ชม. ที่เวลา  0, 5, 15, 30 และ 60 นาที
  6. ปลดน้ำหนักบรรทุกที่เหลือออกจนหมด (ขั้นที่มีเครื่องหมาย ** แสดงไว้) จะคงน้ำหนักบรรทุกไว้ 24 ชั่วโมง ทำการบันทึกค่าการแอ่นตัว(Deflection) และอุณหภูมิ (Temperature) ที่เวลา 0, 5, 15,30 และ 60 นาที และต่อไปทุกๆ 1 ชม. จนครบ 24 ชม.
  7. ค่าการแอ่นตัวเมื่อปลดน้ำหนักบรรทุกออกทั้งหมดแล้ว (Rebound test load) และปล่อยให้คืนตัว 24 ชั่วโมง จะเป็นค่า Final  deflection
  8. คำนวณหาค่าการคืนตัว Recovery of deflection”มีค่าเท่ากับ ค่า Initial deflection ลบด้วยค่า Final  deflection
  9. นำค่าการแอ่นตัวที่ได้เขียนกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำหนักบรรทุก(Load ; kg./m2.) กับค่าการแอ่นตัว (Total Deflection ; mm.) ของแผ่นพื้น และกราฟความสัมพันธ์ระหว่าง น้ำหนักบรรทุก (Load ; kg./m2.),เวลา(Time ; hr.) กับค่าการแอ่นตัว (Total Deflection ; mm.) ที่ตำแหน่งที่เกิดการแอ่นตัวมากที่สุด


ตัวอย่างการทดสอบกำลังรับรับน้ำหนักบรรทุกพื้น Load Test
โครงการปรับปรุงอาคารพาณิชย์ 5 ชั้น

  สำหรับน้ำหนักบรรทุกจร (Live Load) ที่ใช้ในการพิจารณาและนำไปใส่ในสมการ 0.85*(1.4*Dead Load + 1.7*Live Load)
ก็นำมาจากตารางข้างล่างได้เลย ซึ่งเป็นน้ำหนักบรรทุกจรที่ใช้ในการออกแบบอ้างอิงตามข้อกำหนดของพระราชบัญญัติ
ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 หรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วยเรื่องควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544

ซ่อมโครงสร้างโดยผู้ตรวจสอบอาคาร
บริการทดสอบกำลังรับน้ำหนัก
ผู้ให้บริการทดสอบกำลังรับน้ำหนัก
ทดสอบกำลังรับน้ำหนัก ซ่อมโครงสร้าง

ใบเสนอราคา

Visitors: 284,500