ขั้นตอนและวิธีการซ่อมอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก

การซ่อมอาคารโครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ต้องทำอย่างไรบ้าง

ซ่อมอาคาร

ถึงแม้ว่าบ้านหรืออาคารที่ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก จะมีความแข็งแรงทนทาน มีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่เมื่อผ่านการใช้งานไปนาน ๆ ก็ควรต้องมีการตรวจสอบหรือซ่อมอาคารบ้าง เพราะอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กนั้นต้องเผชิญกับสภาพอากาศที่แปรปรวน เผชิญกับการเปลี่ยนแปลงต่อเติมอาคาร รวมถึงสภาพแวดล้อมรอบ ๆ อาคาร เช่น ดินทรุดหรือมีการก่อสร้างในบริเวณใกล้เคียง ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้อาจทำให้โครงสร้างของอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กเกิดการชำรุดทรุดโทรมได้ ดังนั้นจึงต้องมีการบำรุงรักษาและซ่อมอาคารให้มีสภาพดีอยู่เสมอ

สาเหตุที่ทำให้เกิดการชำรุดของอาคารคอนกรีตเกิดจากอะไรได้บ้าง เราจะมีวิธีตรวจสอบและซ่อมแซมได้อย่างไร มาร่วมหาคำตอบไปกับบทความนี้ได้เลย

ขั้นตอนการซ่อมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก

ก่อนทำการซ่อมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก จะต้องมีการตรวจสอบสาเหตุการชำรุดของอาคาร ว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งใด ซึ่งสาเหตุที่ทำให้อาคารคอนกรีตเสริมเหล็กชำรุดและต้องซ่อมอาคาร มีอยู่ 2 สาเหตุหลัก ๆ ด้วยกัน คือ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างของอาคารจนอาคารรับน้ำหนักมากเกินไป หรือมีสนิมในเหล็กของโครงสร้างอาคาร ทำให้เสาของอาคารแตกร้าวและอาจรับน้ำหนักไม่ไหว ซึ่งวิธีการซ่อมอาคารที่ชำรุดจากทั้ง 2 สาเหตุ สามารถทำได้ ดังนี้

  1. การซ่อมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก ที่ชำรุดเพราะการเปลี่ยนแปลงการใช้งานอาคาร ทำให้อาคารรับน้ำหนักมากเกินไป
    การซ่อมอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กที่มีการเปลี่ยนแปลงการใช้งานของอาคารไปจากเดิม เช่น เดิมเป็นบ้านทาวน์เฮาส์ที่มีสนามหน้าบ้าน แต่มีการต่อเติมพื้นที่อาคารเพิ่ม โดยขยายเพิ่มในแนวดิ่ง หรือด้านข้าง และฝากน้ำหนักที่เพิ่มเข้ากับตัวโครงสร้างอาคารเดิม จนโครงสร้างเดิม เช่น เสา คาน และผนังเดิมของอาคารชำรุดเสียหาย วิธีการซ่อมอาคารที่มีการเปลี่ยนแปลงสภาพของอาคาร ทำได้ดังนี้

    • การซ่อมอาคารที่เปลี่ยนแปลงสภาพจนรับน้ำหนักเกินโครงสร้าง และเกิดรอยแตกร้าวขึ้นบนผนังอาคาร เสา หรือคาน ต้องทำการซ่อมอาคารขั้นแรกด้วยการตรวจสอบโครงสร้าง โดยหาวิศวกรที่เชี่ยวชาญทางด้านโครงสร้างมาประเมินกำลังรับน้ำหนักบรรทุกโครงสร้างเดิม ว่ายังสามารถรับน้ำหนักได้หรือไม่ ถ้ายังรับน้ำหนักได้ และ รอยร้าวมีขนาดเล็ก กว้างน้อยกว่า 0.3 มม. ให้ทำการกรีดซ่อมปกติ แต่ถ้าความกว้างเกินกว่า 0.3 มม. ให้ซ่อมอาคารด้วยการอัดน้ำยาอีพ็อกซี่เข้าไปในรอยร้าว (Epoxy Injection) อีพ็อกซี่จะมีแรงยึดเกาะคอนกรีตสูง การซ่อมอาคารด้วยการอัดน้ำยาอีพ็อกซี่ จึงช่วยประสานรอยร้าวในผนังคอนกรีตได้อย่างแนบสนิท

    • การซ่อมอาคารที่ชำรุดเสียหาย เพราะรับน้ำหนักไม่ไหว ควรให้วิศวกรที่เชี่ยวชาญทางด้านโครงสร้าง ทำการออกแบบเสริมกำลัง โดยสามารถซ่อมอาคาร โดยการเสริมกำลัง เช่นเสริมด้วยเหล็กรูปพรรณ H Beam เสริมด้วย คาร์บอนไฟเบอร์ (CFRP) หรือวิธีการอื่นๆ ที่วิศวกรออกแบบ

    • การซ่อมอาคาร กรณีอาคารมีการทรุดตัว ให้ทำการซ่อมอาคารด้วยวิธีการเสริมฐานรากด้วยวิธี Underpinning ด้วยเสาเข็มไมโครไพล์ โดยต้องได้รับการออกแบบเสริมกำลังโดยวิศวกรโครงสร้างที่มีความชำนาญเท่านั้น โดยเมื่อทำการเสริมฐานรากแล้ว ให้ทำการถ่ายน้ำหนักบรรทุกโครงสร้างอาคารเดิมไปลงที่ฐานรากและเสาเข็มใหม่ และทำการปรับยกอาคารให้อยู่ในระดับปกติ

    ข้อควรรู้เรื่องน้ำหนักบรรทุกของอาคาร
    ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 6 พ.ศ. 2527 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร 2522 มีข้อกำหนดไว้ว่า

    • บ้านพักอาศัยทั่วไป รับน้ำหนักบรรทุกได้ 150 กก./ตร.ม.
    • ตึกแถว อาคารชุด หรือทาวน์โฮมสำหรับพักอาศัย รับน้ำหนักบรรทุกได้ 200 กก./ตร.ม.
    • อาคารสำนักงาน รับน้ำหนักบรรทุกได้ 250 กก./ตร.ม.
    • ตึกแถว อาคารพาณิชย์ อาคารชุดเพื่อการพาณิชย์ รับน้ำหนักบรรทุกได้ 300 กก./ตร.ม.

  2. การซ่อมอาคารที่เสื่อมสภาพจากการเกิดสนิมในเหล็กเสริมของโครงสร้างอาคาร
    เมื่อทำการซ่อมอาคารจะต้องมีการตรวจสอบสภาพเสาคอนกรีตของอาคารทุกต้น โดยสามารถทำได้โดยตรวจสอบสภาพภายนอกของเสาคอนกรีตด้วยตาก่อนทำการซ่อมอาคาร หากพบว่าเสามีการแตกร้าวตามแนวของเหล็กเสริม ทั้งเหล็กยืนในแนวดิ่ง และเหล็กปลอกในแนวนอน อาจเป็นไปได้ว่าเหล็กเส้นด้านในเสาเป็นสนิม และดันคอนกรีตบริเวณรอบ ๆ เสาจนแตกร้าว

    นอกจากนี้ยังสามารถตรวจสอบคุณสมบัติโครงสร้างที่ชำรุดเสียหายก่อนทำการซ่อมอาคาร ด้วยการใช้ค้อนกระแทก (Rebound Hammer) เพื่อตรวจสอบกำลังคอนกรีต หรือใช้คลื่นอัลตร้าโซนิค (Ultrasonic Pulse Velocity,UPV) ตรวจสอบความสม่ำเสมอของเสาคอนกรีตก่อนทำการซ่อมอาคารก็ได้เช่นเดียวกัน

โดยขั้นตอนในการซ่อมอาคารที่ชำรุดจากสาเหตุนี้ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้

  • การซ่อมอาคารที่เสาโครงสร้างเกิดเป็นสนิมอยู่ด้านใน จะต้องสกัดคอนกรีตที่อยู่ด้านนอกของเสาต้นที่เป็นสนิมออกให้หมดเสียก่อน เพื่อตรวจดูว่าเหล็กในเสาเป็นสนิมมากน้อยแค่ไหน

  • หากพบว่าเหล็กเป็นสนิมมากหรือเป็นสนิมทั้งเส้น ควรติดต่ออุปกรณ์ค้ำยันโครงสร้าง เพื่อถ่ายเทน้ำหนักของเสาต้นนั้น ๆ ไปยังโครงสร้างส่วนอื่น ๆ ก่อนทำการซ่อมอาคาร

  • หากเหล็กเส้นเป็นสนิมไม่มากนัก การซ่อมอาคารในส่วนนี้ให้ทำการขัดสนิมที่เหล็กเส้นในเสาออกจนหมดก็เพียงพอต่อการซ่อมอาคารแล้ว แต่หากเหล็กมีสนิมทั้งเส้นหรือเหล็กเส้นมีขนาดหน้าตัดน้อยลงกว่าเดิม 10%-20% ให้ขัดสนิมออกให้หมด และทำการต่อทาบหรือเชื่อมเหล็กเสริมเส้นใหม่ ให้มีพื้นที่หน้าตัดเหล็กเสริมไม่น้อยกว่าของเดิม

  • เมื่อทำความสะอาดเหล็กให้ปราศจากสนิมหรือทาบเหล็กใหม่เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปของการซ่อมอาคาร คือการทาน้ำยาเคลือบป้องกันสนิม Epoxy Rasin Primer และน้ำยาประสานคอนกรีต เพื่อให้เหล็กเส้นในเสากลับมาแข็งแรงเหมือนเดิม

  • ติดตั้งไม้แบบเพื่อเทคอนกรีตปิดพื้นผิวของเสาตามเดิม โดยในการผสมคอนกรีตสำหรับซ่อมอาคารเฉพาะจุด จะผสมน้ำยาประสานคอนกรีตกับซีเมนต์สำหรับคอนกรีตโครงสร้าง และคอนกรีตกำลังสูงที่ไม่หดตัว (Non-Shrink Concrete) , หินเกล็ด และน้ำ ก่อนจะเทลงไปในไม้แบบของเสาที่ทำการซ่อม

  • เมื่อคอนกรีตเซตตัว ทำการถอดไม้แบบ และตกแต่งพื้นผิวให้เรียบร้อย ก็จะสามารถซ่อมอาคารเฉพาะเสาที่เป็นสนิมได้โดยไม่กระทบส่วนอื่น

วิธีการซ่อมอาคารที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ มีทั้งการใช้วิทยาการที่ก้าวหน้า เครื่องมือที่ทันสมัย และใช้วัสดุซ่อมอาคารที่มีประสิทธิภาพ จึงสามารถซ่อมอาคารได้สะดวกและง่ายดายขึ้นกว่าในอดีต

 

หากอาคารหรือบ้านพักอาศัยของคุณชำรุดทรุดโทรม หรือคุณต้องการปรับปรุงสภาพบ้านเก่าที่ทำการซื้อมา ลองเลือกใช้บริการของบริษัท เอ็น.เอส.พลัส เอ็นจิเนียริ่ง ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบอาคารทุกประเภท และให้บริการงานซ่อมอาคาร ซ่อมเสา แก้ไขอาคารทรุด แก้ไขโครงสร้างอาคารเก่า หรืออาคารที่โครงสร้างเสื่อมสภาพ

นอกจากนี้เรายังมีบริการซ่อมอาคารที่เหล็กเสริมเป็นสนิม ซ่อมอาคาร หรือเสริมกำลังโครงสร้างอาคารที่ไม่สามารถรับน้ำหนักบรรทุกใช้งาน เรามีวิศวกรและทีมงานผู้ชำนาญการ พร้อมใบจดทะเบียนประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทนิติบุคคลกับสภาวิศวกร คุณจึงสามารถมั่นใจได้ในคุณภาพการทำงานซ่อมอาคารของเรา

 

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.nsplusengineering.com
โทร : 086-307-5103, 085-114-3733
Facebook : nsplusengineering
Line : @nsplus
Email : infos.nsplus@gmail.com

Visitors: 287,091