จุดที่ต้องระวังสำหรับบ้านใหม่ในการตรวจบ้าน

หลายจุดสำคัญก่อนการรับโอนบ้านที่จำเป็น ต้องทำการตรวจบ้านมีจุดไหนบ้าง

จุดที่ต้องระวังสำหรับบ้านใหม่ในการตรวจบ้าน

การเลือกซื้อบ้านสักหลัง แน่นอนว่าต้องมาจากความพร้อมทางด้านการเงินเป็นอันดับแรก ลำดับต่อมาคือการเลือกแบบหรือราคาที่ต้องการ โดยดูว่าโครงการไหนบ้างที่มีเงื่อนไขเข้าข่ายตามที่เราตั้งเอาไว้ เมื่อเลือกแบบบ้านได้ตามต้องการแล้ว ก่อนที่จะเซ็นโอนรับบ้านเข้ามาเป็นของตัวเองนั้น บางครอบครัวจะเลือกใช้บริการบริษัทรับตรวจบ้าน แต่ก็มีอีกหลาย ๆ คนที่ต้องการตรวจบ้านด้วยตัวเอง

ในบทความนี้จะมาแชร์เทคนิคให้กับผู้ที่ตรวจบ้านด้วยตัวเองก่อนรับโอน มีจุดสำคัญจุดไหนบ้างที่ไม่ควรพลาด ต้องเตรียมอุปกรณ์อะไรบ้าง และหากตรวจพบความไม่เรียบร้อยของบ้านต้องทำอย่างไร

การเตรียมตัวและอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการตรวจบ้าน

ขั้นตอนการตรวจบ้านจะเป็นขั้นตอนสุดท้ายก่อนที่เราจะเซ็นรับโอนบ้านเข้ามาเป็นกรรมสิทธิ์ของตัวเอง ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญและต้องมีความรู้ในการตรวจสอบ เพราะหากมีจุดใดจุดหนึ่งของบ้านไม่สมบูรณ์ จะได้แจ้งทางโครงการให้แก้ไขปัญหาได้ทันก่อนการรับโอน


การเตรียมตัวก่อนตรวจบ้าน

  • ตรวจสอบสัญญาและเงื่อนไขต่าง ๆ ก่อนการเซ็นเอกสาร
  • นัดวัน / เวลากับเจ้าหน้าที่โครงการบ้าน ก่อนเข้าไป ตรวจบ้าน
  • เตรียมรายละเอียดของโครงการ เช่น ขนาดพื้นที่ เฟอร์นิเจอร์ วัสดุที่ใช้ ฯลฯ เพื่อนำมาเปรียบเทียบกับบ้านหลังจริงว่าได้สเปกตรงตามนั้นหรือไม่
  • ในระหว่างการตรวจบ้านควรมีเพื่อนไปด้วย เพื่อจะได้ช่วยกันตรวจสอบได้อย่างถี่ถ้วน


อุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการตรวจบ้าน

  • สมุด ปากกา หรือไอแพด สำหรับจดรายละเอียดต่าง ๆ
  • Post-it แผ่นเล็ก ๆ สำหรับใช้มาร์กจุดที่ต้องการให้แก้ไข
  • ไฟฉาย หรือสามารถใช้ไฟฉายในมือถือก็ได้ ใช้สำหรับส่องตรวจดูสี ความเรียบของผนัง กระเบื้อง ฝ้าเพดาน ฯลฯ
  • ตลับเมตร หรือสายวัด ใช้วัดพื้นที่ว่าตรงตามแบบบ้านหรือไม่
  • ดินน้ำมัน หรือถุงพลาสติก ไว้สำหรับปิดระบายน้ำ เพื่อตรวจสอบการรั่วซึมในห้องน้ำ
  • ถังน้ำ หรือสายยาง ไว้ใช้ทดสอบการรั่วซึมของขอบยางประตู หน้าต่าง และการระบายน้ำ
  • ไขควงด้ามไม้ หรือค้อนหัวยาง ไว้สำหรับใช้เคาะกระเบื้องเพื่อเช็กความแน่นของปูนกาวใต้กระเบื้อง
  • กระจกเล็ก ๆ สำหรับส่องเช็กความเรียบร้อยของขอบบานประตูด้านบน ซึ่งจุดนี้ถือเป็นจุดอับสายตา
  • บันไดสำหรับใช้ปีนขึ้นไปตรวจสอบเหนือฝ้าเพดาน หากไม่มี ควรขอยืมจากทางโครงการหมู่บ้าน
  • เครื่องมือตรวจสอบเบรกเกอร์ตัดไฟรั่วไหล หรือ ELCB Tester หรือใช้ไขควงวัดไฟแทนก็ได้ เพื่อเช็กความผิดปกติของเต้ารับ (ข้อนี้ควรใช้ความระมัดระวัง หรือควรให้ผู้เชี่ยวชาญทดสอบ)

จุดที่ต้องระวังสำหรับบ้านใหม่ในการตรวจบ้าน

  1. ภายนอกตัวบ้าน
    บริเวณภายนอกตัวบ้านมีอยู่ 2 จุดที่ต้องทำการตรวจสอบ ได้แก่

    • ประตูรั้ว
      จุดที่ควรตรวจสอบตรงประตูรั้วคือ ตามขอบมุมของประตู รอยเชื่อมต่าง ๆ ต้องไม่มีรู มีการทาสีกันสนิมเรียบร้อยโดยเฉพาะตรงขอบประตูด้านล่าง รวมถึงโครงสร้างของประตูว่ามีความแข็งแรงหรือไม่ ล้อและบานเลื่อนต้องไม่ฝืดหรือลื่นจนเกินไป

    • ที่จอดรถและบริเวณรอบ ๆ ตัวบ้าน
      นอกจากตรวจบ้านบริเวณภายในแล้ว ยังควรตรวจสอบการทรุดตัวของบริเวณที่จอดรถและโครงสร้างรอบบ้านด้วย เนื่องจากที่จอดรถที่อยู่ภายนอกโครงสร้างบ้าน อาจจะทรุดตัวได้ง่าย แต่ถ้าเป็นที่จอดรถแบบรวมอยู่กับโครงสร้างของบ้านมักจะไม่ค่อยเกิดปัญหานี้

      แต่อย่างไรก็ตามพื้นที่โดยรอบบ้านอาจจะเกิดการทรุดตัวได้อยู่ดี ทั้งนี้ปัญหาดินทรุดตัวนั้น เป็นเรื่องที่ตรวจสอบได้ยาก ดังนั้นผู้ซื้ออาจจะต้องเตรียมใจไว้ล่วงหน้า แต่หากเป็นโครงการบ้านที่สร้างเสร็จมาสักพักแล้ว ก็อาจจะทำให้ตรวจสอบได้ง่ายขึ้น

  2. โครงสร้างของบ้าน
    จุดที่เป็นโครงสร้างของบ้านนั้น มีจุดสำคัญ ๆ อยู่ประมาณ 5 จุดย่อยที่ต้องตรวจสอบเมื่อตรวจบ้าน ดังนี้

    • ผนัง
      ผนังควรจะต้องเรียบ ไม่มีรอยร้าว รวมถึงรอยร้าวลายงา ถึงแม้ว่าจะไม่เป็นอันตรายต่อโครงสร้าง แต่รอยเหล่านี้อาจทำให้น้ำซึมเข้าไปได้ ควรตรวจดูรอยร้าวขนาดใหญ่แนวดิ่ง หรือแนวเฉียงว่ามีรอยร้าวประเภทนี้ปรากฏหรือไม่ ซึ่งรอยร้าวแบบนี้จะก่อให้เกิดปัญหาด้านโครงสร้างตามมา เป็นสิ่งที่ควรให้โครงการบ้านทำการแก้ไขโดยทันทีหากพบเห็น

      นอกจากนี้ยังควรตรวจดูสีผนัง และวอลล์เปเปอร์ โดยให้ใช้ไฟฉายส่องดูความเรียบเนียน วอลล์เปเปอร์ต้องไม่มีเชื้อรา สีผนังต้องไม่ลอกหรือหลุดล่อน ต้องเรียบเนียน ไม่โป่งพอง

    • ประตู หน้าต่าง
      สำหรับการตรวจบ้าน ควรต้องตรวจสอบประตูหน้าต่างให้ดี โดยฉีดน้ำทดสอบการรั่วซึม สังเกตตรงขอบประตูและหน้าต่างว่ามีน้ำรั่วซึมเข้าตัวบ้านหรือไม่ ตรงบานประตูให้ใช้กระจกบานเล็ก ๆ ส่องดูขอบด้านบนว่ามีการทาสีเรียบร้อยหรือไม่ เพราะหากโดนน้ำฝนหรือความชื้น ประตูอาจจะบวมจนไม่สามารถปิดได้หรือปิดไม่สนิท

    • กระเบื้อง
      พื้นกระเบื้องต้องเรียบ ไม่ล่อนหรือบิ่น โดยทดสอบด้วยการเคาะแล้วฟังเสียง หากลองเคาะกระเบื้องแผ่นนี้แล้วมีเสียงแตกต่างจากบริเวณอื่น ๆ หรือกระเบื้องสั่น แปลว่าปูนกาวใต้กระเบื้องไม่แน่น และควรจะตรวจสอบกระเบื้องทุกแผ่น

    • บันได
      หากเป็นบ้านชั้นเดียวให้ข้ามข้อนี้ไป แต่หากเป็นบ้านสองชั้นขึ้นไป ควรตรวจสอบบันไดด้วยว่าแต่ละขั้นมีขนาดเท่ากันหรือไม่ ราวบันไดแข็งแรงหรือเปล่า และหากภายในบ้านเป็นพื้นลามิเนต อย่าลืมทดสอบการยุบตัว โดยการลองเหยียบดู หากพบว่าพื้นยุบตัวหรือยุบจนขอบเผยอออกมา ต้องแจ้งทางโครงการบ้านให้มาจัดการแก้ไขด้วย

    • ฝ้าเพดาน และหลังคา
      ในการตรวจบ้าน จุดที่สำคัญอีกจุดคือฝ้าเพดานและหลังคา ต้องเรียบ ไม่โค้งงอ หรือแอ่น สำหรับการทดสอบการรั่วซึม ต้องปีนขึ้นไปดูเหนือฝ้า และตรวจดูความเรียบร้อยของการเดินสายไฟต่าง ๆ ฉนวนกันความร้อน และคราบน้ำรั่ว

  3. ระบบน้ำ
    การตรวจบ้านยังรวมถึงการตรวจสอบระบบน้ำและสุขาภิบาลมีจุดที่ต้องตรวจสอบอยู่ 2 จุด ดังนี้

    • ห้องน้ำ
      ถ้าเป็นห้องน้ำชั้น 2 ควรลองอุดรูระบายน้ำด้วยดินน้ำมันหรือถุงพลาสติกให้น้ำขัง เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ามีน้ำรั่วซึมหรือไม่ และควรตรวจเช็กการทำงานของชักโครก ความเร็วในการระบายน้ำของรูระบายน้ำที่อ่างล้างหน้า หากมีการแยกโซนเปียก-แห้ง ควรทดสอบการรั่วซึมของบานกั้นโซนโดยการฉีดน้ำ หากมีการรั่วซึมต้องแจ้งให้ทำการแก้ไข

    • ระบบบำบัดน้ำ บ่อพักน้ำเสีย ปั๊มน้ำ
      การตรวจถังน้ำดี ถังบำบัด และบ่อพักน้ำเสียที่ดีควรจะมีสภาพดีทั้งภายนอกและภายใน ไม่มีเศษขยะ ส่วนตัวปั๊มน้ำ ให้ทำการทดสอบโดยการฟังเสียงการทำงานของปั๊มน้ำ ดูรอยรั่วซึม และดูการต่อสายดินว่าเรียบร้อยหรือไม่ ถือเป็นอีกจุดที่สำคัญในการตรวจบ้านไม่น้อยเลย

  4. ระบบไฟ
    สำหรับจุดที่ควรตรวจเรื่องระบบไฟฟ้าต่าง ๆ มีทั้งหมด 2 จุดที่ต้องตรวจสอบ ดังนี้

    • สวิตช์ไฟและเต้ารับ
      ควรทำการทดลองทุกจุด โดยการใช้ไขควงวัดไฟหรือเครื่องตรวจสอบเบรกเกอร์ตัดไฟรั่ว ดูความถูกต้องของการเดินสายไฟต่าง ๆ สายดิน และระบบตัดไฟ

    • ตู้ไฟ
      จุดตู้ไฟถือเป็นจุดที่ค่อนข้างอันตรายในขั้นตอนตรวจบ้าน ควรใช้ผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบ เพราะทั้งวิธีการเดินสายไฟ สี และขนาดของสายไฟ มีผลต่อความปลอดภัยต่อชีวิตและการดูแลรักษสำหรับการตรวจบ้าน ด้วยตัวเองนั้น ข้อดีก็คือประหยัดค่าใช้จ่าย แต่ก็มีข้อเสียตรงที่ หากไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ อาจจะยากต่อการวิเคราะห์ หรือยากต่อการหาจุดบกพร่อง และเสียเวลา อย่าลืมว่า หากเราเซ็นรับโอนบ้านมาแล้ว จะไม่สามารถเรียกร้องให้โครงการบ้านแก้ไขจุดที่บกพร่องได้

แต่หากคุณไม่อยากเสียเวลาในการเตรียมอุปกรณ์สำหรับตรวจบ้าน และอยากได้ผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือ สามารถเรียกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างบริษัท เอ็น.เอส.พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นผู้ ตรวจบ้าน ตรวจสอบอาคาร โดยทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ที่ทันสมัย บริการของเรา อาทิ ตรวจคอนโด ซ่อมโครง สร้าง แก้ไขอาคารทรุด บ้านทรุด ต่อเติมทรุด มั่นใจในบริการด้วยมาตรฐานและมีคุณภาพสูง เพื่อความมั่งคงปลอดภัยของอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย

อ้างอิง
https://blog.ghbank.co.th/what-to-do-about-home-inspection/

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.nsplusengineering.com
โทร : 086-307-5103, 085-114-3733
Facebook : nsplusengineering
Line : @nsplus
Email : infos.nsplus@gmail.com

Visitors: 287,091