เช็กลิสต์ตรวจบ้านก่อนโอนแบบละเอียด

จุดสำคัญๆ ที่ไม่ควรพลาดในการตรวจบ้านก่อนโอน อย่างละเอียดมีจุดไหนบ้าง

เช็กลิสต์ตรวจบ้านก่อนโอนแบบละเอียด

Nobody’s perfect เช่นเดียวกันกับ No house is PERFECT! ไม่มีบ้านไหนที่สมบูรณ์แบบชนิดไม่มีที่ติ แม้แต่บ้านหลังละหลายสิบล้านก็ตาม ต้องมีปัญหาจุกจิกกวนใจมาให้ได้เสียเงินเสียทองกันตลอด วิธีที่จะช่วยลดความเสี่ยงในการเสียเงินซ่อมบ้านคือ ก่อนการรับโอนบ้านควรต้องมีการตรวจบ้านก่อนโอนแบบละเอียด หากมั่นใจว่าพอจะตรวจบ้านได้ด้วยตัวเอง อาจไม่จำเป็นต้องจ้างบริษัท แต่หากต้องการความชัวร์ก็สามารถจ้างบริษัทผู้เชี่ยวชาญมาทำการตรวจบ้านให้ได้

ทำไมการตรวจบ้านก่อนโอนจึงมีความสำคัญ

ขั้นตอนสุดท้ายก่อนการเป็นเจ้าของบ้านโดยสมบูรณ์ คือต้องทำการตรวจบ้านก่อนโอนอย่างละเอียด ขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่สำคัญมากที่สุด เพราะหากมีส่วนไหนไม่เป็นไปตามข้อตกลง ชำรุด หรือทำออกมาแล้วไม่สมบูรณ์ และมีแนวโน้มว่าจะเกิดปัญหาตามมาทีหลัง เจ้าของบ้านจะได้แจ้งทางโครงการบ้านได้ทันที เพราะหากเซ็นรับไปแล้วโดยที่ไม่ตรวจบ้านอย่างถี่ถ้วนดีเสียก่อน จะไม่สามารถเรียกร้องให้โครงการบ้านแก้ไขให้ได้ หรืออาจจะต้องทนกับปัญหาต่าง ๆ ท้ายที่สุดอาจต้องควักกระเป๋าจ่ายค่าซ่อมเอง

สำหรับขั้นตอนการตรวจบ้าน ผู้ซื้อสามารถทำการตรวจบ้านได้ด้วยตัวเอง พร้อมกับเซลล์และช่างของโครงการบ้าน แต่ก็มีอีกทางเลือกหนึ่งคือ การจ้างมืออาชีพในการตรวจบ้านก่อนโอนโดยทีมวิศวกรผู้มีความชำนาญ อาจจะส่งผลดีกว่าการตรวจบ้านด้วยตัวเอง เรามาดูกันว่า หากเลือกตรวจบ้านด้วยตัวเอง ต้องมีการเตรียมอะไรบ้าง และต้องเช็กจุดเสี่ยงจุดไหนบ้าง

อุปกรณ์ในการตรวจบ้าน

  • ดินสอ ปากกา
  • สมุดจด
  • สายวัด/ตลับเมตร
  • ไขควงด้ามไม้ เช็กความแข็งแรงของปูน
  • บันไดปีนดูฝ้าและเพดาน
  • ไฟฉาย
  • ดินน้ำมัน ไว้อุดรูท่อดูการรั่วซึม
  • กล้องถ่ายรูปหรือมือถือ
  • ปลั๊กพ่วง

เช็กลิสต์ตรวจบ้านก่อนโอนแบบละเอียด

เช็กลิสต์ในบทความนี้เป็นการตรวจสอบอย่างละเอียด เจาะลึกมากกว่าการตรวจดูเพียงแค่ผนัง โครงสร้าง พื้น ระบบประปา-ไฟฟ้า มันยังมีรายละเอียดจุดที่ต้องระวังอีกยิบย่อยต่าง ๆ ซึ่งอาจเป็นจุดที่คุณมองข้ามไป ดังนี้

  1. เปรียบเทียบแปลนบ้านกับตัวบ้าน
    แปลนบ้านเป็นอีกหนึ่งอุปกรณ์ที่จำเป็นในขั้นตอนการตรวจบ้าน เพราะแบบแปลนของบ้านจะทำให้ทราบได้ว่าภายในตัวบ้านมีรายละเอียดและองค์ประกอบต่าง ๆ อะไรบ้าง เช่น พื้นที่ใช้สอย ระบบไฟฟ้า เป็นต้น ดังนั้นการนำแบบแปลนมาเปรียบเทียบในการตรวจบ้านก่อนโอน สามารถช่วยให้เจ้าของบ้านมั่นใจได้ว่าบ้านที่เสร็จแล้ว มีลักษณะที่ตรงตามแปลนในทุก ๆ จุด

  2. พื้นที่บริเวณหน้าบ้าน
    พื้นที่หน้าบ้าน เช่น รั้วบ้าน สวนหน้าบ้าน ท่อระบายน้ำ ระเบียงบ้านที่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์สำหรับการตรวจบ้านมาทำการตรวจสอบอย่างละเอียด

    • พื้นหน้าบ้านหรือถนน - ถนนบริเวณพื้นหน้าบ้านจะต้องเรียบ ไม่มีร่องรอยความเสียหาย เช่น เป็นหลุม หรือบ่อ

    • รั้วบ้าน - รั้วบ้านที่ดีต้องมีความแข็งแรง ไม่มีร่องรอยการชำรุด ร้าว หรือเอียง พื้นผิวของรั้วควรต้องมีความเรียบเนียน ไม่มีคราบสกปรกหรือร่องรอยความเสียหายใด ๆ

    • ท่อระบายน้ำ - ท่อระบายน้ำเป็นอีกจุดสำคัญที่ควรตรวจสอบ อันดับแรก ให้เริ่มตรวจสอบดูว่าทางระบายน้ำจะไม่ไหลกลับเข้าสู่ตัวบ้าน มีบ่อพักน้ำหรือไม่ และท่อระบายน้ำต้องมีฝาสำหรับเปิด-ปิด เพื่อป้องกันอันตรายแก่ผู้อยู่อาศัย

    • ระเบียงบ้าน - ระเบียงบ้านต้องมีความแข็งแรง วัสดุปูพื้นต้องไม่ลื่น เพราะเป็นบริเวณที่ฝนสามารถตกลงมาเปียกได้ และจะต้องไม่มีสิ่งกีดขวางหรือวางเกะกะ เพราะอาจ ก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้
      สวนหน้าบ้าน - การตรวจบ้านบริเวณสวนหน้าบ้าน จะต้องมีการถมดินให้เต็มพื้นที่ มีการปลูกหญ้า ปลูกต้นไม้อย่างสวยงาม สะอาดและต้องไม่มีเศษวัสดุหรือสิ่งสกปรกหลงเหลืออยู่

  3. โครงสร้างบ้าน
    เมื่อตรวจสอบบริเวณหน้าบ้านเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ลำดับต่อไปให้ตรวจบ้านตั้งแต่โครงสร้างบ้าน โดยให้ดูความแข็งแรงในส่วนที่เป็นเหล็กและเสาจะต้องไม่มีรอยหักหรือบิ่น ต้องมีการเก็บงานเรียบร้อย แลดูสวยงาม

  4. ผนังบ้าน
    ผนังบ้านควรต้องมีความแข็งแรง ไม่มีรอยร้าว สามารถเก็บเสียงได้ดี และสามารถป้องกันเสียงจากภายนอกเข้าตัวบ้านได้ดีด้วยเข่นกัน

  5. พื้นบ้าน
    วิธีการตรวจเช็กพื้นบ้าน ให้ดูจากวัสดุที่โครงการบ้านใช้ปูพื้น ต้องเรียบเสมอกัน ไม่มีร่อง หรือโพรง และจะต้องไม่มีคราบชื้นหรือคราบสกปรก

  6. ฝ้าและเพดาน
    ฝ้าและเพดานควรจะต้องกันน้ำได้ดี และระดับของฝ้าต้องมีความสูงสม่ำเสมอกัน โดยตัวฝ้าจะต้องฉาบให้เรียบเนียนสนิท ไม่มีร่องหรือจุดรั่วซึมของน้ำ

  7. หลังคาและบริเวณใต้หลังคาบ้าน
    หลังคาบ้านควรจะต้องมีโครงเหล็กที่แข็งแรง ทนทาน เพื่อช่วยรองรับน้ำหนักของตัวบ้านได้ รวมไปถึงสามารถกันน้ำได้ทั้งส่วนของกระเบื้องและฝ้าใต้หลังคา

  8. ประตู
    ขั้นตอนในการตรวจบ้านก่อนโอนนั้น จะต้องทำการตรวจสอบตั้งแต่ประตูหน้าบ้าน ไล่เข้ามาถึงประตูบานอื่น ๆ ภายในบ้าน ต้องมีความแข็งแรง ทนแดด ทนฝนได้ดี เวลาเปิด-ปิดประตู ต้องแนบกันสนิท ไม่มีลมหรือแสงลอดเข้ามา

  9. ระบบไฟฟ้า
    การเช็กระบบไฟฟ้าทุกจุดในบ้าน เป็นสิ่งที่ควรทำอยู่ในขั้นตอนการตรวจบ้านก่อนโอนด้วย ให้เริ่มดูที่ปลั๊กไฟหรือสวิตช์ว่ามีกระแสไฟฟ้าและใช้งานได้ตามปกติหรือไม่ และควรตรวจดูความเรียบร้อย เช่น การเดินสายไฟเรียบร้อยดีหรือไม่

  10. ระบบประปา
    ระบบประปาหรือระบบสุขาภิบาล ให้เริ่มตรวจสอบจากสุขภัณฑ์เป็นอันดับแรก ความสะอาด มีร่องรอยชำรุดแตกร้าวหรือไม่ ท่อระบายน้ำต่างๆ ระบายน้ำได้ดีหรือไม่ รวมถึงต้องไม่มีรอยรั่วซึมหรือสิ่งปฏิกูลติดอยู่ตามจุดต่างๆ ในห้องน้ำ

  11. เฟอร์นิเจอร์
    สำหรับโครงการไหนที่มีเฟอร์นิเจอร์มาพร้อมกับบ้านทั้งแบบบิวท์อินและแบบลอยตัว ต้องทำการตรวจสอบว่ามีการชำรุด เสียหายหรือไม่ เช่น เตียง โซฟา ตู้เสื้อผ้า โต๊ะ เก้าอี้ ฯลฯ

  12. บันได
    บันไดขึ้น - ลงบ้าน จำเป็นต้องมีตั้งฉากและมีขนาดขั้นบันไดที่เท่ากันทุกขั้น เมื่อเดินขึ้นและลงจะต้องไม่มีเสียงเอี๊ยดอ๊าด หากมีราวบันได ให้ทดลองจับและขยับดูความแข็งแรงของราวบันไดให้ดี

เมื่อเช็กบ้านทุกจุดเรียบร้อยหมดแล้ว ให้เขียนสรุปออกมาเป็นบันทึกพร้อมรูปถ่ายทุกจุดที่ต้องทำการแก้ไข การสรุปและจดบันทึกสิ่งที่ต้องแก้ไขเพื่อการตรวจบ้านอีกครั้งก่อนโอน จะช่วยเตือนความจำให้คุณ และถือเป็นหลักฐานสำหรับนำมาเปรียบเทียบว่ามีการซ่อมแซมให้เรียบร้อยแล้วหรือยัง

สำหรับใครที่ไม่อยากเสียเวลาในการตรวจบ้านก่อนโอนด้วยตัวเอง หรือไม่แน่ใจว่าการตรวจบ้านด้วยตัวเองนั้นจะทำได้ละเอียดเท่ากับการจ้างมืออาชีพหรือไม่ และต้องการผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือได้ คุณสามารถเรียกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญ อย่างบริษัท เอ็น.เอส.พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นผู้ตรวจบ้าน ตรวจสอบอาคาร โดยทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ที่ทันสมัย บริการของเรา อาทิ ตรวจคอนโด ซ่อมโครง สร้าง แก้ไขอาคารทรุด บ้านทรุด ต่อเติมทรุด มั่นใจในบริการด้วยมาตรฐานและมีคุณภาพสูง เพื่อความมั่งคงปลอดภัยของอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย

สนใจติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่
Website : https://www.nsplusengineering.com
โทร : 086-307-5103, 085-114-3733
Facebook : nsplusengineering
Line : @nsplus
Email : infos.nsplus@gmail.com

Visitors: 281,810