ทำไมต่อเติมแล้วบ้านทรุด

ดูสาเหตุและทางแก้สำหรับการต่อเติมบ้านอย่างไรไม่ให้บ้านทรุด

ทำไมต่อเติมแล้วบ้านทรุด

การต่อเติมบ้านเป็นกระบวนการที่มีความสำคัญสำหรับเจ้าของบ้านที่ต้องการเพิ่มพื้นที่ใช้สอยหรือปรับปรุงรูปแบบของบ้านให้มีความสวยงามและใช้งานสะดวกมากยิ่งขึ้น แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งผลลัพธ์ที่ได้จากการต่อเติมบ้านอาจทำให้บ้านทรุด เนื่องจากมีปัจจัยต่าง ๆ ที่มีผลกระทบต่อความสมดุลของโครงสร้างบ้าน

ดังนั้นการรู้ถึงเหตุผลที่ทำให้บ้านทรุดหลังจากการต่อเติมบ้านอย่างละเอียดโดยจะพิจารณาจากมุมมองของผู้เชี่ยวชาญด้านสถาปัตยกรรมและสถาปนิก พร้อมกับแสดงแนวทางในการป้องกันปัญหาบ้านทรุดที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ทำไมต่อเติมบ้านถึงอาจทำให้บ้านทรุด

  1. ไม่มีการออกแบบที่เหมาะสมก่อนต่อเติม
    หลายคนมองว่าการต่อเติมบ้านเป็นเรื่องเล็ก ๆ ไม่จำเป็นต้องออกแบบ หรือไม่จำเป็นต้องให้วิศวกรที่ชำนาญออกแบบก็ได้ ให้ช่างทั่วไปทำก็เพียงพอ แนวคิดเช่นนี้ถือว่าอันตรายมาก เพราะหลายต่อหลายครั้งปัญหามักเกิดมาจากเรื่องนี้ หากช่างทั่วไปถ้าไม่ชำนาญจริง เมื่อต่อเติมบ้านไม่ว่าอย่างไรก็อาจทำให้บ้านทรุดได้

    โดยประโยคยอดฮิตของช่างที่ทำให้เจ้าของบ้าน ยอมทำคือ “ผมทำมาหลายหลังแล้ว ไม่มีทรุดรับรองได้” แต่พอบ้านทรุดจริง การจะตามตัวช่างมาแก้ไขอาจกลายเป็นเรื่องยากมาก ยิ่งหากแก้ไขแล้วไม่หาย ซ้ำร้ายเกิดติดต่อช่างไม่ได้ เจ้าของบ้านอาจจะต้องลำบากหาช่างใหม่มาเริ่มงานอีกครั้งในที่สุด

  2. สร้างไม่ตรงตามแบบ
    การต่อเติมบ้านถึงแม้มีแบบแล้ว แต่หน้างานจริงอาจสร้างไม่ตรงตามแบบ เนื่องจากพื้นที่จำกัด จึงมีการดัดแปลง แก้ไขเอง โดยไม่ได้ปรึกษาวิศวกร เช่น ตำแหน่งลงเสาเข็มชิดกับตัวบ้านต้องขยับ ก็ดำเนินการขยับเอง อาจทำให้เมื่อต่อเติมบ้านเสร็จแล้ว มีสิทธิ์ที่บ้านจะเกิดการทรุดตัวพังมาสร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินได้

  3. ขาดการควบคุมคุณภาพงานก่อสร้างที่ดี
    การต่อเติมโดยไม่มีมาตรฐานหรือหลักการทางวิศวกรรม อาศัยประสบการณ์อย่างเดียว อาจสร้างปัญหาทำให้บ้านทรุดได้ ซึ่งช่างแต่ละคนก็จะมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน และขนาดความรู้เรื่องมาตรฐานการก่อสร้างที่เพียงพอ เช่น การวางเหล็ก การต่อทาบเหล็ก จุดต่อต่าง ๆ ของโครงสร้างที่ไม่เหมาะสม และที่สำคัญที่สุด คือ การควบคุมคุณภาพงานติดตั้งเสาเข็ม โดยเฉพาะปัจจุบันจะมีเสาเข็มสำหรับต่อเติมที่เรียกว่า เสาเข็มไมโครไพล์ ใช้งานอย่างแพร่หลาย และเข้าใจกันผิด ๆ ว่า ใช้เสาเข็มลักษณะนี้แล้วจะทำให้การต่อเติมไม่ทรุด ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ผิด เพราะหากไม่ควบคุมการตอกให้ดีตามมาตรฐานการติดตั้งแล้ว ปัญหาบ้านทรุดก็ยังมีโอกาสเกิดขึ้นได้เช่นกัน ดังนั้นการเลือกช่างผู้เชี่ยวชาญในการสร้างหรือต่อเติมบ้านก็มีความสำคัญเช่นกัน

  4. ความยาวเสาเข็มส่วนต่อเติมสั้นกว่าตัวบ้านมากเกินไป
    หัวใจหลักของการต่อเติมบ้าน เพื่อไม่ให้ส่วนต่อเติมทรุดตัวแยกจากตัวบ้านมากนัก คือ ความยาวเสาเข็มส่วนต่อเติม ควรมีความยาวใกล้เคียงกับตัวบ้าน หรืออยู่ในชั้นดินเดียวกันกับตัวบ้าน ก็จะช่วยลดปัญหาการทรุดตัวของส่วนต่อเติมไปได้มาก แต่หากเลือกเสาเข็มที่สั้นกว่าตัวบ้านมาก ก็จะส่งผลให้ตัวต่อเติมทรุดตัวอย่างชัดเจน


ต่อเติมบ้านอย่างไร ป้องกันบ้านทรุด

  1. วางแผนอย่างรอบคอบ ออกแบบให้ดี ก่อนทำ
    การวางแผนอย่างรอบคอบก่อนที่จะเริ่มต้นการต่อเติมบ้านเป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการออกแบบส่วนต่อเติม โดยผู้ที่มีความชำนาญ และควรเป็นวิศวกร เพราะมันจะช่วยให้การต่อเติมบ้านเป็นไปอย่างราบรื่นและป้องกันบ้านทรุดได้ โดยนอกจากการวางแผนที่จะเน้นไปที่วัตถุประสงค์ของการต่อเติมบ้านและความจำเป็นของการปรับปรุงบ้านให้เหมาะสมกับความต้องการและสภาพความพร้อมของบ้าน เช่น การเพิ่มพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับความต้องการใช้งานที่มากขึ้น หรือการปรับปรุงสภาพห้องเพื่อเพิ่มความสะดวกสบายและการใช้งานที่สะดวกขึ้นแล้ว ในส่วนโครงสร้างโดยเฉพาะฐานราก เสาเข็ม ก็ต้องเน้นเป็นพิเศษ เพราะเป็นหัวใจหลักที่จะทำให้ปัญหาบ้านทรุด เกิดขึ้นน้อยที่สุด

  2. แบบก่อสร้าง ต้องชัดเจน
    หลังจากออกแบบแล้ว แบบที่จะใช้ในการก่อสร้าง ต่อเติม ต้องชัดเจน เชื่อไหมว่าการต่อเติมหลาย ๆ ที่ ไม่มีแบบก่อสร้างที่ชัดเจน หนักว่านั้นคือบางที่ไม่มีแบบเลย เพียงแค่พูดคุยกันว่าจะเอาแบบนั้น แบบนี้ ตอนทำช่างนึกอยากจะทำอะไรก็ทำ สุดท้ายบ้านที่ออกมาอาจไม่ตรงกับที่ต้องการเลย หากจะรื้อสร้างใหม่ก็เสียดาย สุดท้ายก็เกิดปัญหาตามมามากมาย นอกจากไม่ตรงตามความต้องการเจ้าของบ้านแล้ว ยังเสี่ยงโครงสร้างบ้านทรุดได้อีกด้วย

  3. เลือกใช้บริการบริษัทหรือช่างที่มีความเชี่ยวชาญ
    เลือกใช้บริษัทหรือช่างที่มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในการต่อเติมบ้าน เพื่อให้การทำงานเป็นไปตามมาตรฐานและปลอดภัย ป้องกันการเกิดบ้านทรุดได้ เพราะช่างผู้เชี่ยวชาญจะมีการทำงานที่รอบคอบ ละเอียด คำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่อาจทำให้บ้านเกิดปัญหาได้ เช่น บ้านทรุด ปัญหารอยร้าว ตามรอยต่อที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เช่นน้ำรั่วตามรอยต่อ ความคงทนต่อสภาพอากาศ เป็นต้น

  4. การเลือกชนิด ประเภท และความยาวเสาเข็ม
    เลือกชนิด ประเภท และความยาวเสาเข็มให้เหมาะสมกับส่วนต่อเติม โดยต้องเปรียบเทียบกับตัวบ้านเดิมว่าใช้เสาเข็มลักษณะไหน ความยาวประมาณเท่าไหร่ และเลือกให้มีลักษณะใกล้เคียงกัน โดยเฉพาะเรื่องความยาว ควรจะใกล้เคียงของเดิม เพื่อให้ปลายเสาเข็มอยู่ในชั้นดินที่มีความแข็งประเภทเดียวกัน ก็จะช่วยลดปัญหา ส่วนต่อเติมทรุด และ บ้านทรุดได้มาก

  5. ควบคุมคุณภาพของงาน
    การควบคุมคุณภาพของงานในระหว่างการต่อเติมบ้านก็เป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะขั้นตอนงานโครงสร้าง ในส่วนการติดตั้งเสาเข็ม ฐานราก คาน เสา ต้องตรวจสอบคุณภาพงานให้ละเอียด หากไม่มีความชำนาญ แนะนำให้จัดหาวิศวกรช่วยตรวจสอบในส่วนนี้ ก็จะช่วยลดปัญหา บ้านทรุดได้ เป็นอย่างดี

  6. รักษาและดูแลรักษา
    หลังจากการต่อเติมเสร็จสมบูรณ์ ควรดูแลรักษาและตรวจสอบบ้านอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันการสึกหรอและรอยร้าวที่อาจจะเป็นสาเหตุที่ทำให้บ้านทรุดตัวได้ โดยการตรวจสอบบ้านที่มีประสิทธิภาพคือ การให้ผู้เชี่ยวชาญด้านการตรวจสอบบ้านช่วยตรวจสอบให้เพราะความรู้และประสบการณ์ของช่าง ทำให้มีความละเอียดในการตรวจสอบมากกว่า

การต่อเติมบ้านเป็นเรื่องที่หลายคนตั้งใจทำเพื่อให้บ้านมีพื้นที่ใช้สอยมากขึ้น แต่ก็ต้องต่อเติมบ้านโดยลดความเสี่ยงในการเกิดบ้านทรุดไปด้วย ดังนั้นเมื่อมีการต่อเติมบ้านควรมีการตรวจสอบโครงสร้างบ้านควบคู่กันไปให้ดี

หากท่านสนใจตรวจโครงสร้างบ้านเพื่อป้องกันบ้านทรุด สามารถติดต่อสอบถามหรือใช้บริการได้ที่ N.S.PLUS ENGINEERING CO.,LTD. ผู้เชี่ยวชาญงานตรวจโครงสร้าง รวมถึงตรวจบ้านก่อนโอน ตรวจคอนโด ซ่อมโครงสร้าง แก้ไขอาคารหรือบ้านทรุด ต่อเติมจุดที่ทรุด โดยให้บริการด้วยมาตรฐานและคุณภาพสูง จากทีมงานวิศวกรที่มีความรู้และประสบการณ์สูงทางด้านวิศวกรรมโยธาและสถาปัตยกรรมในการตรวจสอบอาคารเป็นอย่างดี ใช้เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทันสมัยเพื่อเพิ่มความแม่นยำและประสิทธิภาพ

สนใจใช้บริการหรือติดต่อสอบถามเรื่องการป้องกันบ้านทรุดได้ที่
Website : https://www.nsplusengineering.com
โทร : 086-307-5103, 085-114-3733
Facebook : nsplusengineering
Line : @nsplus
Email : infos.nsplus@gmail.com

Visitors: 287,093