วิธีเลือกผู้ตรวจสอบอาคารที่น่าเชื่อถือ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

คุณสมบัติที่ดีของผู้ตรวจสอบอาคารควรเป็นแบบใด

วิธีเลือกผู้ตรวจสอบอาคารที่น่าเชื่อถือ ต้องคำนึงถึงอะไรบ้าง

เพื่อความปลอดภัยของอาคาร และผู้ใช้อาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 กำหนดให้อาคารบางประเภท ต้องจัดให้มีการตรวจสอบอาคาร ซึ่งส่วนใหญ่เป็นอาคารสาธารณะ หรืออาคารที่มีขนาดใหญ่ มีผู้คนเข้าไปใช้สอยจำนวนมาก จึงจำเป็นต้องมีการตรวจสอบอาคาร เพื่อให้เกิดความปลอดภัยต่อทั้งชีวิตและทรัพย์สินให้มากที่สุด และผู้ที่จะมาทำหน้าที่ตรวจสอบเกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัยดังกล่าว คือ “ผู้ตรวจสอบอาคาร”

 

ผู้ตรวจสอบอาคารควรมีคุณสมบัติอย่างไร?

นอกจากการเลือกผู้ตรวจสอบอาคารที่มีความสามารถเฉพาะทางแล้ว การพิจารณาเลือกผู้ตรวจสอบอาคารที่มีคุณสมบัติเป็นไปตามกฎหมายบังคับ ก็เป็นอีกเรื่องที่สำคัญอย่างมาก เพราะมันหมายถึงคุณภาพของบ้านหรืออาคาร ความปลอดภัยในการอยู่อาศัย ซึ่งผู้ตรวจสอบอาคารตามกฎหมายจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 รูปแบบ

  1. ผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทบุคคลธรรมดา
    • ต้องมีสัญชาติไทย
    • มีใบประกอบวิชาชีพวิศวกรหรือสถาปนิก ซึ่งทางกฎหมายได้ระบุไว้ว่า เป็นผู้ที่ได้รับการอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายที่ว่าด้วยวิศวกร หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก
    • ผ่านการอบรมหลักสูตรที่เกี่ยวกับวิธีการตรวจสอบสภาพบ้านหรืออาคาร และอุปกรณ์ของอาคารตามที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรอง
    • ต้องได้รับการรับรองการขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร โดยต้องมีหนังสือรับรองการขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบอาคารตามแบบ รต.1 จากคณะกรรมการควบคุมอาคาร
    • ต้องไม่เคยถูกถอดออกจากการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคารในระยะเวลา 2 ปี ก่อนวันขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ

  2. ผู้ตรวจสอบอาคาร ประเภทนิติบุคคล 
    สำหรับคุณสมบัติของผู้ตรวจสอบอาคารในรูปแบบนิติบุคคล จะมีข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องกับการแต่งตั้งสมาชิกในกลุ่มคณะบริหารของนิติบุคคล ได้แก่ ผู้ที่เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ กรรมการ กรรมการผู้จัดการ หรือผู้บริหารที่มีหน้าที่ในการควบคุมดูแลการตรวจสอบ โดยต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
    • บริษัทต้องได้รับการจดทะเบียนตามกฎหมายไทย ภายใต้เงื่อนไขคือ ทุนจดทะเบียนต้องไม่น้อยกว่าครึ่งต้องเป็นผู้ที่ถือสัญชาติไทย และหุ้นส่วน ผู้ถือหุ้น หรือกรรมการต้องเป็นผู้มีสัญชาติไทยไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ที่เป็นหุ้นส่วนทั้งหมด
    • ต้องเป็นผู้ที่ประกอบอาชีพวิศวกร สถาปนิก ซึ่งทางกฎหมายได้ระบุไว้ว่า เป็นผู้ที่ได้รับการอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม ตามกฎหมายที่ว่าด้วยวิศวกร หรือเป็นผู้ประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่ควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยสถาปนิก
    • ในคณะผู้บริหารของนิติบุคคลต้องมีจำนวนสมาชิกไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งที่ต้องผ่านการอบรมหลักสูตรเกี่ยวกับการตรวจสอบสภาพอาคารและอุปกรณ์ตามที่คณะกรรมการควบคุมอาคารรับรองระบุเอาไว้
    • สมาชิกในคณะผู้บริหารตามข้อ 3 ต้องไม่เคยถูกถอดถอนการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคารในระยะเวลา 2 ปี ก่อนวันขอขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบ
    • เป็นผู้ที่ได้รับการรับรองขึ้นทะเบียนจากคณะกรรมการควบคุมอาคาร โดยจะได้รับเอกสารรับรองการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบอาคารตามแบบ รต.1 จากคณะกรรมการควบคุมอาคาร

 

อาคารประเภทไหนบ้างที่ต้องทำการตรวจสอบ

  1. อาคารสูง - อาคารที่มีความสูงตั้งแต่ 23 เมตรขึ้นไป การวัดความสูงของอาคารให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงพื้นดาดฟ้า สำหรับอาคารทรงจั่วหรือปั้นหยาให้วัดจากระดับพื้นดินที่ก่อสร้างถึงยอดผนัง ของชั้นสูงสุด
  2. อาคารขนาดใหญ่พิเศษ - อาคารที่ก่อสร้างขึ้นเพื่อใช้พื้นที่อาคารหรือส่วนใดของอาคารเป็นพื้นที่อยู่อาศัยหรือประกอบกิจการประเภทเดียว หรือหลายประเภท โดยมีพื้นที่รวมกันทุกชั้นในหลังเดียวกัน ตั้งแต่ 10,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  3. อาคารชุมชน - อาคารหรือส่วนใดของอาคารที่บุคคลอาจเข้าไปภายใน เพื่อประโยชน์ในการชุมนุมคนที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 1,000 ตารางเมตรขึ้นไป หรือชุมนุมคนได้ตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป
  4. โรงมหรสพ - หมายถึงอาคารหรือส่วนใดของอาคารที่ใช้เป็นที่สำหรับฉายภาพยนตร์ แสดงละคร แสดงดนตรี หรือการแสดงรื่นเริงอื่นใด และมีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดให้สาธารณชน เข้าชมการแสดงนั้นเป็นปกติ โดยจะมีค่าตอบแทนหรือไม่ก็ตาม
  5. โรงแรม - โรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม ที่มีจำนวนห้องพักตั้งแต่ 80 ห้องขึ้นไป
  6. สถานบริการ-  ตามกฎหมายว่าด้วยสถานบริการ ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 200 ตารางเมตรขึ้นไป
  7. อาคารชุด - อาคารชุดตามกฎหมายว่าด้วยอาคารชุด หรืออาคารอยู่อาศัยรวม ที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 2,000 ตารางเมตรขึ้นไป
  8. โรงงาน - สำหรับประเภทอาคารโรงงาน คืออาคารที่มีความสูงมากกว่า 1 ชั้น และมีพื้นที่ใช้สอยตั้งแต่ 5,000 ตารางเมตรขึ้นไปตามกฎหมายว่าด้วยโรงงาน
  9. ป้ายโฆษณา - คำจำกัดความของป้ายโฤษณา คือ ป้ายหรือสิ่งที่สร้างขึ้นสำหรับติด หรือตั้ง นอกจากนี้ยังหมายถึง ป้ายที่สูงจากพื้นดินตั้งแต่ 15 เมตรขึ้นไป หรือมีพื้นที่ตั้งแต่ 50 ตารางเมตรขึ้นไป หรือป้ายที่ติดหรือตั้งบนหลังคาหรือดาดฟ้าของอาคาร หรือส่วนหนึ่งส่วนใดของอาคารที่มีพื้นที่ตั้งแต่ 25 ตารางเมตรขึ้นไป (ปัจจุบันตรวจทุก 3 ปี)


แชร์เทคนิคการเลือกผู้ตรวจสอบอาคาร

  1. ต้องมีความรู้และความเชี่ยวชาญ
    ผู้ตรวจสอบอาคารควรมีความเชี่ยวชาญในด้านสถาปัตยกรรมและสภาพแวดล้อมของอาคาร ควรเป็นผู้ที่มีความเข้าใจในมาตรฐานและข้อกำหนดที่เกี่ยวข้อง และสามารถใช้ความรู้นี้ในการตรวจสอบหรือประเมินอาคารได้อย่างถูกต้องตามระบบ

  2. ต้องมีการส่งรายงานและให้คำแนะนำ
    ผู้ตรวจสอบอาคารต้องสามารถให้คำแนะนำแก่เจ้าของอาคารได้ รวมถึงรายงานสภาพของอาคารได้อย่างชัดเจนและเป็นระบบ ในรายงานควรระบุประเด็นที่ต้องทำการแก้ไข พร้อมกับแนะนำวิธีแก้ไข

  3. ต้องมีประสบการณ์ในประเภทของอาคาร
    ข้อสำคัญในการเลือกผู้ตรวจสอบอาคาร คือควรเลือกผู้ให้บริการตรวจอาคารที่มีความเชี่ยวชาญในอาคารแต่ละประเภท รู้จักความแตกต่าง และข้อบกพร่องของอาคารแต่ละประเภท จะทำให้การตรวจสอบอาคารนั้นแม่นยำ มีประสิทธิภาพ และเชื่อถือได้ในผลลัพธ์การตรวจสอบอาคาร

  4. ต้องมีใบรับรอง
    ก่อนการตัดสินใจเลือกผู้ตรวจสอบอาคาร ควรขอดูใบรับรองและใบอนุญาตประกอบวิชาชีพในการตรวจอาคาร เพราะใบรับรองเหล่านี้เป็นการการันตีว่าผู้ตรวจสอบอาคารท่านั้นมีความเชี่ยวชาญและน่าเชื่อถือ

  5. ต้องมีความสามารถในการใช้อุปกรณ์และเทคโนโลยีต่างๆ
    ความรู้ความสามารถในการใช้เทคโนโลยีการตรวจสอบอาคารก็ถือเป็นอีกสิ่งที่สำคัญ ไม่ว่าจะเป็นการมีความรู้เรื่องเครื่องทดสอบความต้านทานของระบบล่อฟ้า เครื่องวัดความร้อน เครื่องทดสอบกำลังอัดคอนกรีต ฯลฯ

  6. ต้องชัดเจนในการสื่อสาร
    ผู้ตรวจสอบอาคารควรมีความสามารถในการสื่อสารด้วย เพราะการสื่อสารที่ตรงประเด็นและชัดเจน เพราะจะช่วยให้ลูกค้าทราบถึงปัญหาและเข้าใจถึงสภาพอาคารได้เป็นอย่างดี

 

หากคุณกำลังมองหาบริษัทหรือผู้ตรวจสอบอาคาร และต้องการผลลัพธ์ที่น่าเชื่อถือ สามารถเรียกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญอย่างเราได้ บริษัท เอ็น.เอส.พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร โดยทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญที่มีใบรับรองตามกฎหมาย และเรายังมีอุปกรณ์ที่ทันสมัยในการตรวจสอบอาคารอีกด้วย

บริการของเราครอบคลุมตั้งแต่การตรวจบ้าน ตรวจคอนโดก่อนรับมอบ ไปจนถึงงานซ่อมโครงสร้าง แก้ไขอาคารทรุด แก้ไขบ้านทรุด ดูแลการต่อเติมทรุด ซ่อมเสา ทดสอบเสาเข็ม ทดสอบคอนกรีตในโครงสร้างที่มองไม่เห็นด้วยนวัตกรรมการตรวจสอบที่ทันสมัย นอกจากนี้เรายังมีบริการคุมงานก่อสร้าง ให้คุณมั่นใจได้ในบริการด้วยมาตรฐานและมีคุณภาพสูง เพื่อความมั่งคงปลอดภัยของอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย


สนใจใช้บริการหรือติดต่อสอบถามเรื่องตรวจคอนโด ได้ที่
Website : https://www.nsplusengineering.com
โทร : 086-307-5103, 085-114-3733
Facebook : nsplusengineering
Line : @nsplus
Email : infos.nsplus@gmail.com

Visitors: 264,747