มาตรฐานในการทดสอบคอนกรีตให้กับบ้านและอาคาร

การทดสอบคอนกรีตมีความสำคัญอย่างไรกับการสร้างบ้านหรืออาคาร

มาตรฐานในการทดสอบคอนกรีต

สำหรับงานก่อสร้างทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นสร้างบ้าน สร้างตึก สร้างถนน สนามกีฬา หรือแม้กระทั่งการสร้างเขื่อนขนาดใหญ่ ขั้นตอนสำคัญที่จะข้ามผ่านไปไม่ได้เลยคือ การทดสอบความแข็งแรงของวัสดุ เช่น การทดสอบคอนกรีต ทดสอบโครงสร้าง ฯลฯ เพื่อให้มั่นใจถึงความแข็งแรงและจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายหรือพังทลายลงของ บ้านหรืออาคาร ให้ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดเอาไว้ นั่นจึงเหตุผลว่าทำไมการทำสอบวัสดุจึงมีความสำคัญ

โดยวัสดุใดก็ตามที่จะต้องทำการทดสอบจะถูกกำหนดเอาไว้ในเงื่อนไขในการก่อสร้างอยู่แล้ว เช่น การทดสอบคอนกรีต คอนกรีตต้องสามารถรับแรงอัดประลัยได้ 210 กิโลกรัม/ตารางเซนติเมตร ซึ่งต้องทำการตรวจสอบหรือทดสอบก่อนการเทคอนกรีต แต่วัสดุบางชนิดที่มีมาตรฐาน มอก. ประทับมาแล้วอย่างเช่น เหล็ก ก็ไม่จำเป็นต้องทดสอบซ้ำ เรามาเจาะลึกถึงความสำคัญในการทดสอบวัสดุก่อนการก่อสร้างว่าอะไรบ้างที่จำเป็นต้องทดสอบ

ความสำคัญของวัสดุก่อสร้างที่ต้องทดสอบ

เพราะเราต้องไม่ลืมว่ารากฐานที่ดีและมั่นคง จะทำให้บ้านอยู่อาศัยไปได้นานแสนนาน ฉะนั้นวัสดุก่อสร้างจึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก เพราะเปรียบเหมือนรากฐานของบ้าน ดังนั้นก่อนการก่อสร้างบ้านควรหาบริษัทผู้เชี่ยวชาญและมีความชำนาญในการเป็นที่ปรึกษางานก่อสร้าง เพื่อมาช่วยดูขั้นตอนก่อนการก่อสร้าง เช็กมาตรฐานของวัสดุที่เป็นโครงสร้างบ้าน ดังนี้

  1. เสาเข็ม
    เสาเข็มจะมีทั้งแบบที่ตอกและแบบเจาะ ในส่วนนี้ต้องให้วิศวกรผู้ชำนาญการมาตรวจดู เช่น การใช้เสาเข็มแบบตอกอาจเป็นวิธีที่ง่ายและประหยัดค่าใช้จ่าย แต่อาจส่งผลกระทบต่อเพื่อนบ้านบริเวณรอบพื้นที่การก่อสร้าง ดังนั้นบริษัทที่ปรึกษาจึงควรต้องตรวจสอบข้อมูลหน้างานก่อนการดำเนินงาน

    ส่วนเสาเข็มแบบเจาะเป็นที่นิยมใช้กันทั่วไป จะส่งผลต่อบ้านหรืออาคารรอบ ๆ บริเวณการก่อสร้างน้อยลง ถ้าเทียบกับเข็มตอก ทั้งนี้อาคารหรือบ้านของคุณควรจะเลือกใช้วิธีไหน บริษัทที่ปรึกษา ผู้ออกแบบและทีมวิศวกรจะเป็นผู้ที่ให้คำปรึกษาและหาคำตอบมาให้กับคุณเอง

  2. เหล็ก
    เหล็กจัดว่าเป็นวัสดุที่ใช้เสริมโครงสร้างให้มีความแข็งแรง แบ่งได้เป็นเหล็กเส้นและเหล็กรูปพรรณ โดยเหล็กต่างๆ ต้องมี มอก. หรือ มาตรฐานอุตสาหกรรม และในการนำมาใช้ที่งานก่อสร้าง ต้องมีการตรวจสอบคุณภาพซ้ำ เช่น การดูสภาพเหล็ก เอกสาร มอก. หรือ อาจสุ่มเลือกตัวอย่างมาทำการทดสอบ ว่าตรงตามข้อกำหนดหรือไม่

  3. อิฐ
    นิยมใช้เป็นองค์ประกอบหลักของโครงสร้างบ้าน เพราะอิฐมีคุณสมบัติที่เหมาะกับสภาพ อากาศของประเทศไทย หาซื้อได้ง่าย เช่น อิฐมวลเบา อิฐมอญ และอิฐบล็อก โดยมีวิธีทดสอบ ดังนี้

  4. ปูน
    คุณสมบัติที่ดีของปูนนอกจากราคาที่เหมาะสมแล้ว ต้องมีคุณสมบัติอีกข้อคือ เมื่อทำการผสมแล้วต้องไม่ทิ้งร่องรอยแตกร้าวเมื่อปูนแห้ง และเนื้อปูนต้องมีความเหนียว สามารถยึดติดกับพื้นผิวได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญต้องแห้งเร็ว

    • อิฐมอญ - จะมีลักษณะเป็นก้อนสีแดง ทำจากดินเหนียว ราคาถูก อิฐมอญที่คุณภาพดีจะไม่แตกหักง่าย รับน้ำหนักได้ดี และทนต่อความชื้นและแสงแดด

    • อิฐมวลเบา - ทำมาจากปูนซีเมนต์ มีน้ำหนักเบาเป็นคุณสมบัติเด่น เนื้อวัสดุจะมีรูพรุนที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ ทำให้การถ่ายเทความร้อนได้ดี นิยมนำมาทำเป็นผนังบ้านเพราะช่วยลดความร้อนภายในบ้านลงได้

    • อิฐบล็อก - ทำมาจากคอนกรีต มีรูกลวงตรงกลาง มีขนาดใหญ่ สามารถระบายอากาศได้ดี มีราคาถูก แต่ไม่สามารถรับน้ำหนักได้มาก

  5. สีทาบ้าน
    สามารถแบ่งได้เป็นสีที่ใช้ทาภายนอกและสีที่ใช้ทาภายใน สีภายนอกจะทำหน้าที่ทาทับบนพื้นผิวแล้ว เนื้อสีต้องมีความทนต่อสภาพอากาศ ไม่หลุดล่อนง่าย และต้องป้องกันเชื้อราและรังสียูวีได้ด้วย

    ส่วนสีที่ใช้ทาภายในบ้าน ต้องมีความเข้มข้นของเนื้อสีอะคริลิก เมื่อนำไปทาลงบนพื้นผิวจะเหมือนกับมีฟิล์มบาง ๆ เคลือบพื้นผิวอยู่ ทำให้เกิดความเงางาม และสีที่ดีนั้นควรต้องใช้งานไปได้นาน ๆ ทาแล้วเรียบเนียน และควรทำความสะอาดได้ง่ายด้วย

ทั้งหมดนี้เป็นวัสดุที่เกี่ยวกับโครงสร้างบ้านที่จำเป็นต้องทำการตรวจสอบ เพื่อทดสอบความแข็งแรงตามมาตรฐานก่อนการก่อสร้างบ้าน แต่ครั้งนี้ บริษัท เอ็น.เอส.พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด ในฐานะผู้ตรวจสอบอาคารที่มีความเชี่ยวชาญในงานทดสอบโครงสร้าง เราขอเจาะลึกลงไปถึงมาตรฐานในการทดสอบคอนกรีตว่าต้องทำอย่างไรบ้าง


มาตรฐานในการทดสอบคอนกรีตที่ เอ็น.เอส.พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัดมีอะไรบ้าง?

คอนกรีตเป็นวัสดุที่ประกอบไปด้วยส่วนผสมที่มีทั้งละเอียดและหยาบรวมเข้ากับซีเมนต์เหลว ที่พอผ่านไปสักระยะหนึ่งมันจะแข็งตัว มักจะประกอบไปด้วยสารยึดเกาะที่มีส่วนผสมของปูนขาว เช่น ปูนซีเมนต์ปอร์ตแลนด์ เพื่อกำหนดให้เป็นไปตามมาตรฐานคอนกรีตที่ดี จะต้องผ่านการทดสอบ ตามขั้นตอนดังนี้

      1. ทดสอบการ Rebound หรือการวัดค่าดัชนีการสะท้อนกลับ
        เครื่องมือที่ต้องใช้ในการทดสอบ คือ Rebound Hammer ซึ่งเราจะใช้หลักการกระแทกและการกระดอนกลับของสปริงหรือมวลยืดหยุ่น ซึ่งกำลังที่สะท้อนกลับนั้นจะต้องผันแปรกับค่าความแข็งแรงของผิวที่ทดสอบ

        • ตรวจสอบสภาพผิวตัวอย่างทดสอบ - ขัดผิวบริเวณที่ต้องการทดสอบให้เรียบ เพราะหากพื้นผิวโค้งนูน หรือ ผิวเว้าจะมีผลต่อการกระดอนกลับของค้อน เนื่องจาก ผิวที่โค้งนูนหรือไม่เรียบนั้น จะทำให้ค่าที่อ่านได้ต่ำกว่าความเป็นจริง ส่วนผิวที่เว้าจะให้ค่าอื่นที่อ่านได้สูงกว่าความเป็นจริง

        • แบ่งพื้นที่ตัวอย่างในการทดสอบ - ทำให้มีตำแหน่งในการยิงไม่น้อยกว่า 10 ตำแหน่ง และแต่ละตำแหน่งต้องห่างกันอย่างน้อย 2.5 ซม.

        • ทำการกด Rebound Hammer - ในการกด Rebound Hammer ต้องทำในทิศทางที่ตั้งฉากกับผิวตัวอย่าง พร้อมบันทึกค่าการกระดอนกลับและทิศทางการกด ซึ่งต้องมีด้วยกันทั้งหมด 3 ทิศทาง ได้แก่ แนวนอน แนวตั้งแบบยิงขึ้น และแนวตั้งแบบยิงลง เนื่องจากในแต่ละทิศทางจะใช้กราฟในการปรับค่าการกระดอนกลับเป็นค่า Strength of Concrete ที่ต่างกัน

        • นำค่าการกระดอนกลับที่ต้องทดสอบอย่างน้อย 10 ตำแหน่ง - รวมถึงให้ตัดค่าการกระแทกที่มีค่าต่างจากค่าเฉลี่ยมากกว่า 6 และเฉลี่ยค่าที่เหลือใหม่ ซึ่งหากมีค่าตั้งแต่ 3 ค่าขึ้นไปที่แตกต่างจากค่าเฉลี่ยเกิน 6 ให้ทดสอบค่าชุด และนำค่าเฉลี่ยที่ได้มาหาค่า Strength of Concrete จากกราฟที่ใช้ในการปรับค่า

      2. การทดสอบแรงอัดประลัยคอนกรีต
        จะทำการทดสอบโดยวิธีทำลายคอนกรีตหรือ Concreter Testing โดยเราจะทำการเจาะและเก็บตัวอย่างคอนกรีตขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 2 นิ้ว จากส่วนโครงสร้าง เช่น คาน พื้น เสา หรือส่วนคอนกรีตที่ต้องการพิจารณาด้วยเครื่องเจาะระบบ Rotary หัวเจาะ หรือ Diamond Core Bit แท่งตัวอย่างที่ได้จากการเจาะจะถูกนำมาตัดให้ได้อัตราส่วนความยาวต่อเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2:1 แล้วทำการ Cap ด้วยสาร Capping Compound ก่อนที่จะนำส่งไปทดสอบคอนกรีตเพื่อหาค่ากำลังอัดสูงสุดด้วยเครื่อง Compression Machine ในห้องปฏิบัติการ

      3. ทดสอบการแทรกซึมของคลอไรด์
        จะเป็นการทดสอบในห้องปฏิบัติการ โดยต้องใช้สว่านเจาะคอนกรีตเพื่อเก็บผงคอนกรีตจากตัวอย่างที่ต้องการทดสอบที่ระดับความลึกต่างๆ ไปทำการทดสอบหาปริมาณคลอไรด์โดยเทียบกับค่ามาตรฐาน ซึ่งสารประกอบคลอไรด์เป็นปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดสนิมในโครงสร้างเหล็กเสริมได้ ซึ่งส่วนใหญ่มักจะพบได้ตามอาคารที่อยู่ใกล้ทะเล โดยมีขั้นตอนในการทดสอบดังนี้

        • เจาะคอนกรีตเพื่อเก็บผงตัวอย่างบริเวณจุดที่พิจารณา
        • นำตัวอย่างที่เก็บไปเข้าตรวจในห้องปฏิบัติการ เพื่อหาปริมาณคลอไรด์ในเนื้อตัวอย่าง
        • นำค่าที่ได้มาแล้ว มาประเมินวิเคราะห์ปริมาณคลอไรด์ที่ละลายในกรด นำมาเปรียบเทียบตามค่ามาตรฐาน มยผ.1332-55 หรือ ASTM C1152/C

      4. การทดสอบปริมาณคาร์บอน
        การทดสอบปริมาณคาร์บอน หรือ Carbonation Depth Test เป็นการทดสอบความเป็นด่างของคอนกรีต โดยจะทำการเจาะเพื่อเอาผงคอนกรีตที่ลึกประมาณ 3-9 ซม. หรือทำการเก็บตัวอย่างคอนกรีตโดยวิธี Coring แล้วนำตัวอย่างที่ได้มาพ่นด้วยสารละลายฟีนอล์ฟาธาลีน เพื่อดูความเปลี่ยนแปลงของปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่นของตัวอย่างคอนกรีต ซึ่งหากพบว่าคอนกรีตเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมม่วงแสดงว่าคอนกรีตมีความเป็นด่าง pH อยู่ในช่วง 10.0-13.0 แต่หากคอนกรีตไม่เปลี่ยนสี จะถือว่าการเกิดปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่นค่า pH ต่ำกว่า 8.2 ซึ่งมีขั้นตอนในการทดสอบ ดังนี้

        • เตรียมสารละลายฟีนอล์ฟทาลีน ที่มีความเข้มข้น 1% สำหรับทดสอบกับตัวอย่าง
        • ทำการเก็บตัวอย่างโดยการเจาะหรือผงคอนกรีต และนำตัวอย่างมาวิเคราะห์หาความลึกของปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่น
        • พ่นสารฟีนอล์ฟทาลีนบนแท่งตัวอย่าง หรือผงคอนกรีต แล้วนำมาทำการเปรียบเทียบสีที่เกิดขึ้น โดยเทียบสีใสและสีม่วงแดง ตามแนวขอบ
        • สีม่วงแดง คือความลึกที่เกิดปฏิกิริยาคาร์บอเนชั่น ซึ่งการทดสอบนี้อ้างอิงตามมาตรฐาน BS EN 14630

สำหรับผู้ที่ต้องการหาบริษัทผู้เชี่ยวชาญในการตรวจสอบอาคาร ทดสอบคอนกรีต สามารถเรียกใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญอย่างบริษัท เอ็น.เอส.พลัส เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เราเป็นผู้ตรวจสอบอาคารที่มีประสบการณ์ในงานตรวจโครงสร้างให้กับบ้านและคอนโด มีทีมวิศวกรที่มีความเชี่ยวชาญ และอุปกรณ์ที่ทันสมัย บริการของเรา อาทิ ตรวจคอนโด ซ่อมโครงสร้าง แก้ไขอาคารทรุด บ้านทรุด ต่อเติมทรุด ฯลฯ มั่นใจในบริการด้วยมาตรฐานและมีคุณภาพสูง เพื่อความมั่งคงปลอดภัยของอาคารให้เป็นไปตามกฎหมาย

สนใจใช้บริการหรือติดต่อสอบถามเรื่องทดสอบคอนกรีต ได้ที่
Website : https://www.nsplusengineering.com
โทร : 086-307-5103, 085-114-3733
Facebook : nsplusengineering
Line : @nsplus
Email : infos.nsplus@gmail.com

Visitors: 281,810